วันศุกร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2554

12.การตกแต่งตาราง

การตกแต่งตาราง

           การตกแต่งตาราง หรือ การตกแต่งWorksheet  ให้ดูสวยงาม เป็นระเบียบและมีความเหมาะสมในการใช้งาน ซึ่งจะต้องมีก ารตกแต่งโดยใช้สี การปรับแต่งตัวอักษร การกำหนดรูปแบบของข้อมูล รวมถึงการใช้ตารางเพื่อให้ข้อมูลดูน่าสนใจ
การกำหนดรูปแบบการแสดงข้อมูล
            ข้อมูลที่เราป้อนในตารางสามารถแบ่งออกเป็น  3 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่ตัวเลข วันที่ และข้อความ ซึ่งเราสามารถกำหนดรูปแบบการแสดงข้อมูล ทั้ง 3 ประเภทให้เหมาะสมกับงานของเราได้
กำหนดรูปแบบการแสดงตัวเลขจากแถบเครื่องมือ
            รูปแบบการแสดงตัวเลข มีหลายรูปแบบให้เราเลือกใช้ตามความเหมาะสม เช่น เป็นตัวเลขเกี่ยวกับสกุลเงิน ตัวเลขเกี่ยวกับเปอร์เซ็นต์  หรือกำหนดจำนวนทศนิยมของตัวเลข วิธีการกำหนดรูปแบบการแสดงตัวเลขที่มีการใช้งานบ่อย ๆ คือการกำหนดจากแถบเครื่องมือ ดังนี้



กำหนดรูปแบบตัวเลขที่อยู่บนแถบเครื่องมือ

เพื่อแสดงค่าในเซลล์โดยให้มีเครื่องหมายสกุลเงินนำหน้า

ถ้าต้องการแปลงค่าในเซลล์ที่เลือกทั้งหมดให้เป็นเปอร์เซ็นต์

เพื่อให้มีเครื่องหมาย , คั่นตัวเลขที่เลือกทุก ๆ 3 หลักและมีทศนิยม 2 ตำแหน่ง

เพื่อเพิ่มจำนวนหลักทศนิยม 1 หลัก

เพื่อลดจำนวนหลักทศนิยม 1 หลัก
กำหนดรูปแบบการแสดงตัวอย่างเจาะจงโดยใช้เมนู รูปแบบเซลล์ (Format Cells)
การปรับและแสดงผลของตัวเลข
1.  เลือกเซลล์หรือกลุ่มของเซลล์ที่จะกำหนดรูปแบบของตัวเลข
2.  ไปที่คำสั่งรูปแบบ (Format)> เซลล์ (Cell) หรือคลิกขวาเลือกคำสั่ง รูปแบบเซลล์หรือกดปุ่ม Ctrl +1

3.  คลิกที่Tab ตัวเลข แล้วเลือกรูปแบบตัวเลข จำนวนหลักทศนิยม และเครื่องหมายคั่นที่หลักพัน

การจัดตำแหน่ง
            ข้อความต่าง ๆ ที่จะทำไว้ในเซลล์สามารถจัดตำแหน่งได้ตามความต้องการใช้งาน ทั้งในแนวตั้งแนวนอน จัดวางองศา ด้วยวิธีการดังนี้
การวางตำแหน่งในเซลล์
1.  เลือกเซลล์หรือกลุ่มของเซลล์ที่จะกำหนดรูปแบบของตัวเลข
2.  ไปที่คำสั่งรูปแบบ (Format) > เซลล์  (Cell)  หรือคลิกขวาเลือกคำสั่ง รูปแบบเซลล์
3.  คลิกที่การจัดวาง (Alignment)

 ในช่องแนวนอน (Horizontalใช้วางตำแหน่งข้อมูลด้านแนวนอนว่าจะให้ชิดด้านใดมีทางเลือกดังต่อไปนี้
-  ทั่วไป (General) ตัวเลขหรือวันที่ชิดขวา ตัวหนังสือชิดซ้าย และค่าตรรกะจะอยู่กึ่งกลาง
-  ซ้าย(ย่อหน้า) วางเนื้อหาไว้ชิดขอบซ้ายของเซลล์ ถ้าเลือกอันนี้สามารถกำหนดระยะของย่อหน้าได้จากช่องย่อหน้า (Indent) ที่ด้านขวา
-  จัดกลาง (Center) วางเนื้อหาไว้ตรงกลางเซลล์
-  ขวา (Right) วางเนื้อหาชิดขวาเซลล์
-  เติม (Fill) ให้ทำการซ้ำเนื้อหาที่มีอยู่ให้เต็มความกว้างของเซลล์
-  จัดแนว (Justify) ให้ตัดคำของข้อความที่ยาวกว่าความกว้างของเซลล์ให้ขึ้นบรรทัดใหม่ทำให้ในเซลล์มีหลายบรรทัดโดยให้จัดตัวอักษรเสมอหลัง
-  กึ่งกลางข้ามส่วนที่เลือก (Center Across Selectionวางข้อมูลในเซลล์หนึ่งให้กึ่งกลางของหลายเซลล์
 ส่วนในช่องแนวตั้ง (Vertical) ใช้วางตำแหน่งข้อมูลด้านแนวตั้งโดย
-  บน (Top) วางข้อมูลในเซลล์ชิดขอบบน
-  จัดกลาง (Center)  วางข้อมูลในเซลล์ตรงกลาง
-  ล่าง (Bottom) วางข้อมูลในเซลล์ชิดขอบล่าง
-  จัดแนว (Justify)  ให้ขยายระยะห่างระหว่างบรรทัดเพื่อให้ชิดขอบบนและล่างของเซลล์ในกรณีที่มีหลายบรรทัด
 ในส่วนของการวางแนว (Orientation) จะยอมให้เลือกทิศทางของการวางข้อความว่าจะให้เอียงทำมุมเท่าใด

ในกรอบตัวควบคุมข้อความ(Text Control) ที่อยู่ด้านล่างจะมีเช็คบ็อกซ์อยู่ 3 อัน ซึ่งมีดังต่อไปนี้
            -  ตัดข้อความ (WrapText) ให้ตัดข้อความเป็นหลายบรรทัดในหนึ่งเซลล์ จำนวนของบรรทัดที่ถูกตัดขึ้นอยู่กับความกว้างของสดมภ์และความยาวของเซลล์
            -  จัดให้พอดี (Shrink to fit) ลดขนาดของแบบอักษรที่ปรากฏเพื่อแสดงเนื้อหาทั้งหมดให้พอดีกับความกว้างของเซลล์โดยมันลดขนาดอักษรให้เล็กพอที่จะแสดง
            -  ผสานเซลล์ (Merge Cell) ให้รวมเซลล์ที่ถูกเลือกเอาไว้เหมือนกันเป็นเซลล์เพียงเซลล์เดียว








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น